สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหม่อน (มัลเบอร์รี่)
การเจริญเติบโตของหม่อน(มัลเบอร์รี่)มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ แสงแดด อุณหถูมิ น้ำ อากาศ แร่ธาตุ และอื่น ๆ ซึ่งสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เล่านี้จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่น ในสภาพที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ มีน้ำเพียงพอ ดินอุดมสมบูรณ์ ต้นไม่อนจะสามารถเจริญเติดโตได้ดี หรือในสภาพต้นหม่อน(มัลเบอร์รี่)จาดแสงแดด ทำให้ใบไม่สามารสังเคราะห์แสงได้ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของหม่อน(มัลเบอร์รี่)ได้เช่นกัน จะเห็ดได้ว่าสภาพแวดล้อมมีผลกระทบโดยตรงต่อหม่อน(มัลเบอร์รี่) ดังนั้น เทคนิคที่ใช้ในการเขตกรรมหม่อน(มัลเบอร์รี่) จึงจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานจากความต้องการของหม่อน(มัลเบอร์รี่)ในการเจริญเติบโต ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าว ได้แก่1. แสงแดด
เป็นแหล่งพลังงานของหม่อน(มัลเบอร์รี่)ในกระบวนการสังเคราะห์แสง หม่อน(มัลเบอร์รี่)ที่ปลูกในสภาพพื้นที่ที่มีแสงประมาณ 9-12 ชัวโมงต่อวัน จะเจริญเติบโตได้ดี สีของใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)จะเป็นสีเขียวเข้ม แต่ถ้าหม่อน(มัลเบอร์รี่)ขาดแสงกิ่งและแขนงใบจะอ่อน ใบมีสีเขียวอ่อน ใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)จะมีปริมาณน้ำมากแต่จะมีธาตุอาหารต่ำ ต้นหม่อน(มัลเบอร์รี่)ที่มีระยะปลูกเหมาะสม การดูแลรักษาถูกต้อง ใบหม่อนได้รับแสงอย่างเพียงพอ จะมีการสังเคราะห์แสงอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)มีคุณภาพดี
2. อุณหภูมิ
หม่อน(มัลเบอร์รี่)จะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ไม่ควรปลูกหม่อน(มัลเบอร์รี่)ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียส เพราะหม่อน(มัลเบอร์รี่)จะพักตัว และไม่ควรสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้การคายน้ำมาก การใช้อาหารของหม่อน(มัลเบอร์รี่)จะมีมากกว่าการสร้างอาหาร ทำให้หม่อน(มัลเบอร์รี่)ไม่เจริญเติบโต ดังนั้น ในฤดูร้อนควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
3. น้ำ
น้ำเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของหม่อน(มัลเบอร์รี่) ช่วงในการดูดซึมธาตุอาหาร และเคลื่อนย้ายธาตุอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ รักษาอุณหภูมิในต้นพืช รักษาความดันในเซลล์พืชให้คงที่ เป็นต้น ในระยะที่ต้นหม่อน(มัลเบอร์รี่)กำลังเจริญเติบโตจะมีน้ำในราก ประมาณ 54-59%, ในลำต้นประมาณ 60%, ในกิ่งแขนงต่าง ๆ 58-65%, และในใบ ประมาณ 64-83%
ในช่วงระยะการเจริญเติบโตของต้นหม่อน(มัลเบอร์รี่) หม่อนต้องการน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ในเขตเกษตรน้ำฝน ปริมาณน้ำฝน 600-2,500 มิลลิเมตร/ปี การกระจายของน้ำฝนเฉลี่ย 50 มิลลิเมตร/ครั้ง ใน 10 วัน ความชื้นสัมพัทธ์ 65-80% อยู่ในช่วงที่เหมาะสมที่จะทำให้หม่อน(มัลเบอร์รี่)เจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าปริมาณน้ำในดินสูงหรือน้ำขังทำให้ดินขาดอากาศ รากหม่อน(มัลเบอร์รี่)จะขาดออกซิเจน จะทำให้ต้นหม่อน(มัลเบอร์รี่)ไม่สามารถเจริญเติบโตได้
4. อากาศ
ในอากาศเหนือพื้นดินประกอบออกซิเจน 21% ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอ แต่ในพื้นดินปริมาณออกซิเจนจะมีน้อยกว่าเหนือพื้นดิน นอกจากนี้ปริมาณออกซิเจนในดินยังขึ้นอยู่กับโครงสร้างของดินและปริมาณน้ำใต้ดิน การขาดออกซิเจนมีผลถึงการหายใจของรากหม่อน(มัลเบอร์รี่) เมื่อมีการไถพรวนจะทำให้เกิดการถ่ายเทของอากาศและลดการขาดออกซิเจน
ในอาหาศมีคาร์บอนไดออกไซด์ 0.03% ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เมื่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้นการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นในช่วงที่ต้นหม่อน(มัลเบอร์รี่)กำลังเจริญเติบโต การเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลดีคือ ช่วงเพิ่มการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้หมอกควันและฝุ่นละอองในอากาศจะเป็นตัวขัดขวางการสังเคราะห์แสงและการหายใจของหม่อน(มัลเบอร์รี่) เพราะสิ่งเหล่านี้จะปลิวไปติดอยู่บนผิวใบและบางครั้งอาจมีสารพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่หม่อนไหม เช่น ก๊าซพิษที่ปล่อยจากโรงงานหรือก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น
5. ดิน
ดินเป็นรากฐานสำคัญสำหรับต้นหม่อน(มัลเบอร์รี่)ในการเจริญเติบโต เพราะดินมีธาตุอาหารและน้ำ ดินจะช่วยพยุงค้ำจุนลำต้น โครงสร้างของดิน ชนิดของดิน ชั้นของดิน สภาพของดิน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อปริมาณ และคุณภาพของใบหม่อน(มัลเบอร์รี่) และจะมีผลต่อเนื่องไปถึงการเจริญเติบโตของหม่อนไหม ปริมาณและคุณภาพของรังไหม ดินที่เหมาะสมแก่การปลูกหม่อน(มัลเบอร์รี่)ควรมีหน้าดินลุกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร มีอินทรีย์วัตถุสูง มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอาหาศดี เป็นดินร่วนปนทรายอุ้มน้ำได้ดี มีค่า pH (พีเอช) อยู่ระหว่าง 6.5-7.0
++++++++++
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตรภาพ : Google